เมื่อเราอยากมี Website แต่กังวลว่าจะเริ่มดำเนินการจากส่วนไหนก่อน และเลือกใช้ Web Control Panel ราคาไม่สูงของผู้ให้บริการไหนดี ชื่อแรกๆ ที่ได้ยินก็คงจะเป็น DirectAdmin หรือ DA นั้นเอง ในบทความนี้เราจะมาแนะนำการ Config การใช้งานของ DirectAdmin ในระดับของ Root SSH

สำหรับ DirectAdmin เป็นระบบช่วยจัดการส่วนต่างๆ ของ Web Hosting เช่น ข้อมูลของ Website, Domain, FTP, Email, Spam, MySQL, Backup และอีกมากมาย

DirectAdmin มี 3 Level การเข้าถึง

Admin Level

  • Create / Modify Admins and Resellers
    สามารถสร้าง Reseller หรือเพิ่มสิทธิให้กับ Admin
  • Reseller Packages
    สามารถสร้าง Reseller Packages ไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการสร้าง Account จะสามารถเลือก Package ที่ได้ตั้งค่าต่างๆ ไว้แล้วให้กับ Account ที่สร้างขึ้นมา
  • Show All Users
    สามารถดูและเลือกแสดง User Account ที่มีอยู่ในระบบ
  • DNS Administration
    สามารถ สร้าง แก้ไข หรือลบ DNS Record ใน Server
  • IP Manager
    สามารถตั้งค่า IP Address ให้กับ Server และยังสามารถจัด IP address ให้กับ Reseller
  • Mail Queue Administration
    สามารถจัดการคิวของอีเมล์ ได้ผ่าน Tool
  • System / Services Info
    สามารถตรวจสอบ สั่ง Start, Stop และ Restart Service
  • Complete Usage Statistics
    สามารถตรวจสอบภาพรวมทั้งหมดของการใช้งานใน Server
  • DNS Clustering
    สามารถถ่ายโอนข้อมูล DNS ระหว่าง DirectAdmin กับ DirectAdmin โดยอัตโนมัติ และยังสามารถตรวจสอบ Server อื่น เพื่อไม่ให้มีการใช้งานซ้ำกันในเครือข่ายของ DirectAdmin
  • SPAM fighting tools in DirectAdmin
    สามารถเลือกใช้ Tool ในการป้องกัน Spam ได้หลายรูปแบบ
  • Licensing / Updates
    สามารถตรวจสอบสถานะของ License และอัพเดต DirectAdmin เวอร์ชั่นล่าสุด

Reseller Level

  • Create / List / Modify Accounts
    สามารถสร้าง แก้ไข และลบ Account
  • User Packages
    สามารถสร้าง User Packages ไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการสร้าง Account จะสามารถเลือก Package ที่ได้ตั้งค่าต่างๆ ไว้แล้วให้กับ Account ที่สร้างขึ้นมา
  • Reseller Statistics
    สามารถตรวจสอบภาพรวมการใช้งานของ User ที่อยู่ใน Server
  • Message All Users
    สามารถส่งข้อความไปยังลูกค้าได้ผ่านระบบ Ticket
  • Import / Manage Skins
    สามารถเปลี่ยนรูปแบบของ Centrol Panel
  • IP Assignment
    สามารถตั้งค่า IP Address ให้กับ User
  • System / Services Information
    สามารถตรวจสอบสถานะของ Service และข้อมูลของระบบ
  • Name Servers
    สามารถสร้าง Nameserver ให้กับ user

User Level

  • E-mail Administration
    สามารถสร้าง POP/IMAP Accounts, Forwarders, Mailing Lists, Autoresponders, Webmail และ Filter
  • FTP Management
    สามารถสร้าง FTP Account และตั้งค่าสิทธิ์ Directory ของแต่ละ Account
  • DNS Menu
    สามารถ สร้าง แก้ไข หรือลบ DNS Record
  • Statistics Menu
    สามารถตรวจสอบภาพรวมการใช้งานของ User เอง
  • Subdomains Menu
    สามารถ สร้าง แก้ไข หรือลบ Subdomain
  • File Manager
    สามารถใช้งาน FTP ในการจัดการดูแล Website
  • MySQL Databases
    สามารถ สร้าง แก้ไข หรือลบ MySQL
  • Site Backup
    สามารถสำรองข้อมูลหรือเรียกคืนเฉพาะส่วนที่ต้องการ
  • Error Pages
    สามารถข้อความและ error 401, 403, 404 และ 500
  • Directory Password Protection
    สามารถตั้งป้องกัน Directory ด้วย Username และ Password
  • PHP Selector
    สามารถเลือกเวอร์ชั่นของ PHP
  • Advanced Tools
    สามารถติดตั้ง SSL, Perl, Cron และตัวจัดการ Apache

โดย DirectAdmin สามารถติดตั้งได้หลายระบบปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็น Red Hat, Fedora Core, Red Hat Enterprise Linux, CentOS, FreeBSD, Ubuntu และ Debian

คุณสมบัติของ Server ที่รองรับ

  • CPU  : อย่างน้อย 500 MHz
  • Memory : 512 MB
  • HDD หรือ SSD : พื้นที่ว่างอย่างน้อย 2 GB

ขั้นตอนการติดตั้ง DirectAdmin

ในบทความนี้เราจะมาติดตั้งบนระบบ CentOS 7 ที่ไม่มีการติดตั้ง Service ใดๆ ไว้ เราขอแนะนำเป็นแพคเกจ CloudNode 

# wget http://www.directadmin.com/setup.sh
# chmod 755 setup.sh
# ./setup.sh

สำหรับค่า Client ID และ License ID ให้ทำการใส่ข้อมูลที่ได้จากการสั่งซื้อ License มาจากทาง DirectAdmin โดยตรง หรือสามารถแจ้งซื้อได้กับทาง HostPacific ได้ผ่านช่องทาง Email : support@hostpacific.com หรือ Line : @hostpacific 

Would you like to install these required pre-install packages? (y/n): y
Please enter your Client ID : xxxx
Please enter your License ID : xxxxx
Enter your hostname (FQDN) : ชื่อโดเมน.xxx
Client ID:  xxxx
License ID: xxxxx
Hostname: ชื่อโดเมน.xxx
Is this correct? (y,n) : y
Is eth0 your network adaptor with the license IP (xxx.xxx.xxx.xxx)? (y,n) : y
Is xxx.xxx.xxx.xxx the IP in your license? (y,n) : y
Is this correct? (must match license) (y,n) : y
Would you like the default settings of apache 2.4 with mod_ruid2 and php 7.2 cli? (y/n): y
Would you like to search for the fastest download mirror? (y/n): y

รอ DirectAdmin ติดตั้งประมาณ 30 นาที เมื่อติดตั้งเรียบร้อยจะมีรายละเอียดแจ้งการเข้าใช้งาน

Admin user created
## INSTALL_COMPLETE
## ACCOUNT_INFO


The following information has been set:

Admin username:   xxxxxx
Admin password:   xxxxxxxxx
Admin email:      xxxx@ชื่อโดเมน.com


Server IP: xxx.xxx.xxx.xxx
Server Hostname: ชื่อโดเมน.com

To login now, follow this link:

http://xxx.xxx.xxx.xxx:2222

and enter your Admin username and password when prompted.

Path Log ของ Service หลัก ใน DirectAdmin

Apache log

  • access log /var/log/httpd/access_log
  • error log /var/log/httpd/error_log

MySQL log

  • error log /var/lib/mysql/[Server Name].err

Exim log

  • main log /var/log/exim/mainlog
  • reject log /var/log/exim/rejectlog

อัพเดต Service ด้วย DirectAdmin CustomBuild

# cd /usr/local/directadmin/custombuild
# ./build update 
# ./build versions (แสดงรายการ service ตัวใดที่ต้องอัพเดต)
# ./build update_versions (ทำการอัพเดต service ที่มีเวอร์ชั่นใหม่)
# systemctl restart directadmin

อัพเดต MariaDB 5.5 ไป MariaDB 10.x 

# yum update -y
#/etc/yum.repos.d/MariaDB.repo

ใส่ค่าในไฟล์ โดยสามารถเปลี่ยนเวอร์ชั่นของ MariaDB ได้ ตามเวอร์ชั่นล่าสุดแทนเลข 10.3 (ตรวจสอบเวอร์ชั่นล่าสุดของ MariaDB)

[mariadb]
name = MariaDB
baseurl = http://yum.mariadb.org/10.3/centos7-amd64
gpgkey=https://yum.mariadb.org/RPM-GPG-KEY-MariaDB
gpgcheck=1

ทำการ Save และรัน

# yum clean all
# yum install MariaDB-server MariaDB-client

ตรวจสอบเวอร์ชั่นหลังติดตั้ง

# mysql -V
mysql  Ver 15.1 Distrib 10.3.11-MariaDB, for Linux (x86_64) using readline 5.1

เปิดใช้งาน Multiple PHP

ตรวจสอบการตั้งค่าที่ไฟล์ options.conf ใน /usr/local/directadmin/custombuild พบว่าค่า PHP จะมีใช้งานเพียง 7.2 และเป็น mod_php

#PHP Settings
php1_release=7.2
php1_mode=mod_php
php2_release=no
php2_mode=php-fpm

ทำการปรับเปลี่ยนเวอร์ชั่นของ PHP ที่ต้องการใช้งาน แนะนำให้เลือกใหม่สุดเป็นค่าแรกและค่าที่สองเป็นเวอร์ชั่นสูงกว่า 5.6 (ในบทความนี้เราขอเลือกเป็น 7.3 และ 7.0)

# ./build set php1_mode php-fpm
# ./build set php2_mode php-fpm
# ./build set php1_release 7.3
# ./build set php2_release 7.0

ตรวจสอบค่าที่ไฟล์ options.conf อีกครั้ง พบว่าค่าแรกเป็น 7.3 ค่าที่สองเป็น 7.0 และเป็น php-fpm

#PHP Settings
php1_release=7.3
php1_mode=php-fpm
php2_release=7.0
php2_mode=php-fpm

ดำเนินการรัน

# ./build php n
# ./build rewrite_confs

เพียงเท่านี้เราก็สามารถเลือกใช้งาน PHP ต่างเวอร์ชั่นให้แต่ละ Domain

ทาง HostPacific หวังว่าแนวทางที่ให้ไว้ในบทความนี้ จะช่วยท่านในการปรับตั้งค่า DirectAdmin ได้สะดวกและง่าย แล้วมาพบกันต่อในบทความหน้าของ DirectAdmin